ISSP จับมือ Nutanix และ Sophos นำเทคโนโลยีเปิดบริการ Enterprise Cloud รูปแบบใหม่ ตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรไทยที่ต้องการก้าวสู่ Hybrid Cloud อย่างมั่นคงปลอดภัย

ในงานสัมมนา ISSP Solution Day 2020 “The Power of The Nutanix Enterprise Cloud with Security Evolution” ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา ทาง ISSP ได้เผยถึงวิสัยทัศน์ในการเปิดบริการ Cloud ด้วยการนำเทคโนโลยีจาก Nutanix และ Sophos มาผสานรวมกัน เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถใช้งาน Cloud ในประเทศไทยได้อย่างมั่นใจ อีกทั้งธุรกิจที่เคยใช้งาน Nutanix อยู่แล้วก็จะสามารถทำ Disaster Recovery และก้าวสู่ Hybrid Cloud ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

นอกจากการเผยถึงวิสัยทัศน์ด้านนี้แล้ว ในงานสัมมนาครั้งนี้ทาง Nutanix และ Sophos เองต่างก็ได้มาทำการอัปเดตเทคโนโลยีและโซลูชันของตนเองเพื่อให้ธุรกิจองค์กรเห็นภาพว่าการทำ Hybrid Cloud และ Security สำหรับปี 2021 นี้ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ก็ขอสรุปประเด็นทั้งหมดที่น่าสนใจเอาไว้ดังนี้

ISSP เตรียมเปิดบริการ Enterprise Cloud ในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรไทย ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจาก Nutanix และ Sophos

Nutanixissp

ที่ผ่านมา ISSP นั้นทั้งในฐานะของ Solution Integrator และ Cloud Service Provider เอง ก็ได้มีประสบการณ์ทั้งการวางระบบให้กับธุรกิจองค์กรในแบบ On-Premises และให้บริการ Cloud ดูแลรักษาระบบสำคัญของธุรกิจให้กับลูกค้าองค์กรแบบ 24×7 มาโดยตลอด ก็ได้เห็นถึงการเติบโตของตลาด Cloud ในฝั่งของธุรกิจองค์กรที่มีแนวโน้มที่ดี และความต้องการในการก้าวสู่ Hybrid Cloud ของหลายธุรกิจองค์กรเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความมั่นคงทนทานให้กับระบบ IT สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ ISSP จึงได้นำสองเทคโนโลยีที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญอย่าง Nutanix ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านระบบ Enterprise Cloud และ Sophos ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโซลูชันด้าน Cybersecurity สำหรับธุรกิจองค์กรมาอย่างยาวนาน มาเตรียมเปิดให้บริการ Cloud ในรูปแบบใหม่ สำหรับธุรกิจองค์กรโดยเฉพาะ ด้วยจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

  • ใช้เทคโนโลยีของ Nutanix ในการให้บริการ IT Infrastructure สำหรับ Cloud ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย เชื่อมผสานระบบได้หลากหลาย ให้บริการแบบ Platform-as-a-Service (PaaS) ได้หลากหลายรูปแบบ
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบ On-Premises ของธุรกิจองค์กรที่เคยใช้ Nutanix อยู่เดิม เพื่อทำ Hybrid Cloud ร่วมกัน ได้ทันที รองรับได้ทั้งการบริหารจัดการร่วมกันและการทำ Disaster Recovery
  • เสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับบริการ Cloud ด้วยโซลูชันจาก Sophos ที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของ Nutanix AHV และส่วนของ Client ที่เชื่อมต่อเข้ามาจากธุรกิจองค์กร มีทีมงานไทยให้บริการได้ตลอด 24×7 โดยมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจองค์กรอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Nutanix, Sophos และรวมถึง Platform อื่นๆ หรือแม้แต่ SAP ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจองค์กรได้อย่างหลากหลาย

ในครั้งนี้ ISSP ตั้งใจที่จะวางบริการ Cloud ของตนเองให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม ด้วยการเสริมบริการหลังการขายสำหรับ Cloud ของตนเข้าไปอย่างเต็มที่ เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งานบริการ Cloud ดังกล่าวได้อย่างมั่นใจ ไม่ได้เน้นแข่งราคา แต่เน้นการแข่งขันที่คุณภาพของการให้บริการตั้งแต่ก่อนการขายไปจนถึงหลังการขาย

ในขณะเดียวกัน ISSP เองก็พร้อมที่จะช่วยธุรกิจองค์กรวางระบบ Hybrid Cloud ได้ ไม่ว่าธุรกิจองค์กรนั้นๆ จะเคยใช้ Platform ใดมาก่อนก็ตาม ทาง ISSP ก็พร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และติดตั้งระบบ เพื่อให้ On-Premises Data Center สามารถเชื่อมต่อกับบริการ Cloud ของ ISSP และทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์

บริการ Cloud ดังกล่าวของ ISSP จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในช่วงต้นปี 2021 นี้ และรายละเอียดทั้งหมดจะถูกเปิดเผยในการเปิดตัวอีกครั้งหนึ่ง

Nutanix เผยเทรนด์ถัดไปคือการให้บริการ PaaS ภายในองค์กร ระบุธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับ IT Operation มากขึ้นท่ามกลาง COVID-19

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา เทคโนโลยีของ Nutanix ถือว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากธุรกิจองค์กรไทย เนื่องจากสถานการณ์ของ COVID-19 นั้น ทำให้ผู้ดูแลระบบ Data Center ต้องรับมือกับโจทย์หลัก 2 ประการด้วยกัน

  • การรองรับให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้เสมือนทำงานอยู่ที่บริษัท
  • การทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการระบบ IT ภายใน Data Center ได้อย่างคล่องตัวและง่ายดาย รองรับ Workload ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตครั้งนี้ และทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นใจ

สำหรับข้อแรกนั้น Nutanix เองก็เป็นระบบ HCI ที่รองรับระบบ Virtual Desktop Infrastructure หรือ VDI ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนัันสำหรับธุรกิจองค์กรที่ต้องการวางระบบ VDI เพื่อรองรับการทำงานจากที่บ้านสำหรับผู้ใช้งานบางส่วนหรือทั้งหมด ก็สามารถเลือกใช้งาน Nutanix ได้ทันที

ในข้อถัดมานั้น Nutanix เองมีเทคโนโลยี Automation ในตัวมากมายเพื่อลดภาระด้าน IT Operation ลง อย่างเช่นการให้บริการ Storage หรือ Database ได้ในแบบ PaaS และเปิดให้ผู้ใช้งานเข้ามาร้องขอบริการได้แบบ Self-Service ทำให้การเลือกใช้งาน Nutanix นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบ HCI อย่างในอดีต แต่เสมือนเป็นการลงทุนในระบบ Private Cloud ภายในองค์กรที่มาพร้อมกับประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายดายนั่นเอง

ด้วยความสามารถที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องของ Nutanix นั้น ก็ทำให้ Nutanix กลายเป็น Platform ที่ตอบโจทย์ของธุรกิจองค์กรได้อย่างหลากหลาย ซึ่งที่ผ่านมาธุรกิจองค์กรไทยก็มักให้ความสำคัญกับความสามารถดังต่อไปนี้

การทำ Database-as-a-Service ได้ โดย Nutanix สามารถช่วยทำ Provisioning และ Management ให้กับ Database ได้หลากหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft SQL Server, Oracle Database, MySQL ไปจนถึง SAP HANA ทำให้ลดภาระด้านการติดตั้งระบบและการตั้งค่า HA ที่มีความซับซ้อนลงไปได้ ช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถนำ Workload ใหม่ๆ มาใช้งานร่วมกับ Database เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว

การทำ Storage-as-a-Service ที่ Nutanix สามารถให้บริการได้ทั้ง Block Storage, File Storage และ Object Storage ในตัว รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายธุรกิจองค์กรที่เลือกใช้ Nutanix เป็นทั้ง HCI และระบบ File Sharing สำหรับพนักงานทั้งหมดในองค์กรภายในระบบเดียว ลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการลงไปได้เป็นอย่างมาก และลดค่าใช้จ่ายลงได้มากเมื่อเทียบกับการจัดซื้อ NAS Storage เพื่อรองรับผู้ใช้งานหลายร้อยถึงหลายพันคน

การรองรับ Self-Service ซึ่ง Nutanix สามารถจัดสรรทรัพยากรของระบบแบ่งตามแผนกหรือโครงการ และสร้างหน้า Self-Service Portal ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทำการร้องขอหรือสร้าง VM ขึ้นมาได้ตามต้องการด้วยตนเอง ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นอย่างมาก และลดภาระการทำงานของผู้ดูแลระบบ IT ในส่วนกลางลงได้อย่างมหาศาล

การมีระบบ Backup ให้พร้อมใช้งานได้ในตัว ทำให้ธุรกิจองค์กรไม่ต้องลงทุนกับระบบ Backup ภายนอกที่ซ้ำซ้อน และมี Workflow ในการสำรองและกู้คืนข้อมูลหรือระบบที่ง่ายดาย

ประสิทธิภาพการใช้งานจริงที่สูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจองค์กรได้หลายแง่มุม ทั้งบางธุรกิจที่สามารถลดระบบประมวลผลจากเดิมที่เคยต้องใช้ Rack 42U เหลือเพียงแค่ Nutanix ขนาด 4U และสำหรับระบบ Database ของธุรกิจองค์กร ก็สามารถลดจำนวน Core ที่ต้องใช้ในการประมวลผลลง ทำให้ลด License ที่ต้องใช้งานลงได้ไปด้วย

การทำงานได้แบบ Hybrid Cloud ทำให้การใช้งาน Nutanix นั้นมีความยืดหยุ่นคล่องตัว สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Cloud ที่ใช้ Nutanix อยู่แล้วก็ได้ หรือทำงานร่วมกับบริการ Cloud ชั้นนำอย่าง AWS, GCP และ Microsoft Azure ได้ทั้งหมด ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกได้อย่างอิสระ ไม่ต้องผูกติดกับผู้ให้บริการ Cloud เพียงรายใดรายหนึ่ง

หน้าจอบริหารจัดการที่ใช้งานได้ง่าย ซึ่ง Nutanix นั้นได้นำประสบการณ์ของการใช้บริการ Public Cloud มาเสริมให้ภายในระบบบริหารจัดการของตนเอง ทำให้การใช้งานนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

สำหรับปี 2021 นี้ Nutanix เองก็มองว่าแนวโน้มข้างต้นก็คงจะยังดำเนินต่อไป โดยธุรกิจองค์กรไทยจะมองหาความง่ายดายในการบริหารจัดการระบบ IT กันมากขึ้น เพื่อให้การให้บริการ IT ภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว คล่องตัว และช่วยให้การลงทุนระบบ IT มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นจากการมีระบบ IT Infrastructure ที่สามารถรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้นนั่นเอง

Sophos ชี้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในฝั่ง Data Center และ Client จะต้องผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อปกป้องผู้ใช้งานและธุรกิจองค์กรได้อย่างครบวงจร

ทางด้านของ Sophos เองก็ได้นำเสนอถึงโซลูชันในการปกป้องระบบเครือข่ายทั้งบน Nutanix ไปจนถึง Client ของธุรกิจองค์กรอย่างครบวงจร เพื่อให้มั่นใจว่าท่ามกลางโลกที่มีการโจมตีอย่างรุนแรงซับซ้อนในทุกมิตินี้ ธุรกิจองค์กรจะสามารถปกป้อง Data Center และผู้ใช้งานได้อย่างวางใจ

Xstream Architecture บน Sophos XG Firewall คือนวัตกรรมแรกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าถึงในฐานะของระบบ Streaming Packet Inspection ประสิทธิภาพสูง ซึ่งรองรับความสามารถหลักๆ ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่

  • Xstream SSL Inspection ที่สามารถวิเคราะห์ทราฟฟิกที่ใช้ TLS 1.3 ได้ ทำให้สามารถตรวจสอบภัยคุกคามหรือความเสี่ยงที่อาจถูกเข้ารหัสภายในธุรกิจองค์กรได้อย่างครบถ้วน
  • Xstream DPI Engine สามารถตรวจสอบทราฟฟิกด้วยการทำ AV, IPS, Application Control ได้
  • Xstream Network Flow FastPath สามารถทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลทราฟฟิกได้ด้วยความเร็วสูง ไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเครือข่ายช้าแต่อย่างใด

การใช้ Xstream Architecture นี้จะช่วยให้ Sophos สามารถตรวจสอบข้อมูลทราฟฟิกทั้งแบบ North-South และ East-West ที่เกิดขึ้นบน Nutanix ได้อย่างครบถ้วน ช่วยปกป้องระบบ Data Center จากภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกัน Sophos Synchronized Security ก็เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่จะช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัย ด้วยการใช้ Sophos XG Firewall ทำงานร่วมกับ Sophos Endpoint เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความมั่นคงปลอดภัยกันตลอดเวลา และทำ Automation เพื่อจำกัดวงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อพบความเสี่ยงใดๆ ดังตัวอย่างเช่น

ทำการตรวจสอบ Application กับทราฟฟิกได้อย่างละเอียดขึ้น ด้วยการนำข้อมูลทราฟฟิกที่ตรวจพบจาก Sophos XG Firewall ไปเทียบกับข้อมูลของ Application และ Service ที่ตรวจพบบน Sophos Endpoint ทำให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ดีขึ้น และทำให้ระบบรู้จักทราฟฟิกของ Application หลากหลายมากขึ้น

ทำการแยกอุปกรณ์ Endpoint ที่ถูกตรวจพบโดย Sophos Endpoint ว่าไม่มีความมั่นคงปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการไม่ติดตั้ง Application ด้านความมั่นคงปลอดภัย หรือไม่ได้อัปเดต Patch หรือถูกตรวจพบว่ามี Ransomware ทำงานอยู่ ให้สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ในวงจำกัด ลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องได้

Sophos Synchronized Security นี้เป็นโซลูชันที่ธุรกิจองค์กรสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันทีเมื่อมีการใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Sophos มากกว่า 2 ชนิดร่วมกัน และต้องมีการบริหารจัดการผ่าน Sophos Central ได้ทันที ทำให้การใช้งานจริงนั้นไม่ซับซ้อน ต่างจากโซลูชันอื่นๆ ที่ต้องมีการนำเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายรายมาผสานรวมกัน ซึ่งยากต่อการดูแลรักษาและการบริหารจัดการ